วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนโพธิสารพิทยากร

                โรงเรียนโพธิสารพิทยากร (อังกฤษ: Potisarnpittayakorn school) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโดยพระครูโพธิสารคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่อยู่ถนนพุทธมณฑลสาย 1 แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10170

คำขวัญ

เรียนดีมีวินัยใจนักกีฬา

14/2 หมู่ 2 ถนนพุทธมณฑล สาย 1 แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170

 

 

    สัญลักษณ์ ประจำโรงเรียน

 

ตราประจำโรงเรียนโพธิสารพิทยากร
อตฺตา หิ อตฺตาโน นาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน) ”

  •    ผู้อำนวยการ: นายธวัช หมื่นศรีชัย
  •    คติพจน์: "อตฺตา หิ อตฺตาโน นาโถ"
  •    ตราประจำโรงเรียน: เสมา กริช ใบโพธิ์
  •    อักษรย่อ: พ.ส.
  •    สีประจำโรงเรียน: สีน้ำเงิน - ชมพู
สีน้ำเงิน หมายถึง ความมีวินัย ความประพฤติเรียบร้อย นำมาซึ่งความสำเร็จ
สีชมพู หมายถึง ความเพียรพยายามในการเรียน นำมาซึ่งความน่ารัก ลูก "โพธิสาร" ทุกคนที่ประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัย ความประพฤติเรียบร้อย มีความเพียรพยายามในการเรียน จะนำมาซึ่งความสำเร็จ และมีความน่ารัก เป็นที่เชิดหน้าชูตาของตนเอง  บิดา  มารดา  วงศ์ตระกูล  และโรงเรียนของเรา                  สืบไปชั่วกลาลนาน
  • เพลงประจำโรงเรียน: มาร์ชโพธิสาร
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน:ต้น "ชมพูพันธ์ทิพย์"
ต้นชมพูพันธ์ทิพย์ จะออกดอกสีชมพูในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่จะเตรียมตัวสอบปลายภาคเรียนที่ 2 นักเรียนเก่าที่อยู่ชั้นสูงสุดของโรงเรียนจะจบการศึกษาไปพร้อมกับการร่วงโรย ของดอกชมพูพันธ์ทิพย์ และโรงเรียนจะรับนักเรียนใหม่เข้ามาแทนพร้อมกับการที่มีใบอ่อนแตกกิ่งก้าน สาขาใหม่ มีทรงพุ่มใหญ่โตขึ้นทุก ๆ ปี

 

ประวัติ

โรงเรียนโพธิสารพิทยากรเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบสหศึกษา   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3   ตั้งอยู่เลขที่ 14/2 หมู่ 2 ถนนพุทธมณฑลสาย 1 แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10170   โทรศัพท์ 0-2448-6130 , 0 –2448-6931 เปิดสอนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย       ตั้งอยู่บนที่ดินของนายผัน และ นางสอิ้ง ไทรพุฒทอง   และที่ดินของวัดโพธิ์ ซึ่งบริจาค และยอมให้ใช้ประโยชน์ในการจัดตั้งโรงเรียน รวมเนื้อที่ ทั้งหมดประมาณ 6 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา
ในครั้งแรกเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2499 โดยท่านพระครูโพธิสารคุณ (นวล ธมฺมธโร) หรือหลวงปู่นวล เจ้าอาวาสวัดโพธิ์สมัยนั้น เป็นผู้ริเริ่มโดยเรียนที่ศาลาวัดริมคลองบางระมาด ต่อมาได้บอกบุญเรี่ยไรจากชุมชน ประกอบกับเงินงบประมาณของทางราชการเพื่อสร้างอาคารไม้แบบอุดร 2 ชั้น ขนาด 12 ห้องเรียน จนสามารถเป็นสถานที่ประกอบการเรียนการสอนได้สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2501

ในปีงบประมาณ 2525 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 318 ค. เป็นอาคารตึก 3 ชั้น 18 ห้องเรียนขึ้นอีก 1 หลัง

ต่อมาในปีงบประมาณ 2526 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานแบบมาตรฐานขนาด 2 หน่วย 1 หลัง บ่อน้ำบาดาล 1 บ่อ ห้องน้ำห้องส้วม 2 หลัง สำหรับอาคารไม้ 2 ชั้นนั้นชำรุดทรุดโทรมลงมาก ทางโรงเรียนจึงได้ขออนุมัติทำการรื้อถอนเพื่อจะได้เสนอของบประมาณสร้างอาคาร เรียนหลังใหม่ทดแทนต่อไป

ปีการศึกษา 2527 - 2529 กรมสามัญศึกษาได้จัดให้โรงเรียนเข้าโครงการปรับปรุงโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดเล็ก (คปล.) เป็นโรงเรียนในส่วนกลางโรงเรียนเดียวที่เข้าโครงการนี้ ซึ่งมีโรงเรียนทั่วประเทศ 240 โรงเรียน โดยกรมสามัญศึกษาได้คัดโรงเรียนที่มีนักเรียนน้อย เพื่อจะปรับปรุงใน 3 ด้าน คือ
  1. ด้านตัวป้อนคือนักเรียน กรมสามัญศึกษาให้ความช่วยเหลือโดยการ
  • ยกเว้น บ.กศ. 50%
  • ให้หนังสือเรียน ยืมเรียนฟรี
  • ให้ชุดนักเรียน
  • จัดที่พักให้แก่นักเรียนที่อยู่ห่างไกล
  1. ด้านบุคลากร กรมสามัญศึกษาจัดบุคลากรให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชาโดยใช้ สูตร 2X + 2 (X คือ จำนวนห้องเรียน) ในการจัดสรรอัตราครูให้แก่โรงเรียนในโครงการ
  2. ด้านอาคารสถานที่ กรมสามัญศึกษาจัดงบประมาณช่วยปรับปรุงบริเวณอาคารสถานที่ให้เหมาะแก่การ จัดการเรียนการสอนทัดเทียมกับโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ แก้ปัญหาเรื่องไฟฟ้าและประปาในโรงเรียน ผลปรากฏว่าโรงเรียนโพธิสารพิทยากรก็ยังมีนักเรียนเข้าเรียนน้อย ไม่สามารถพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ ในขณะนั้นมีเพียง 6 ห้องเรียนเท่านั้น
ปีการศึกษา 2529 กรมสามัญศึกษาจึงเห็นชอบให้ทำ “ โครงการความร่วมมือระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาทางด้านวิชาการ ” โดยมี 3 โรงเรียนเข้ามาช่วยโรงเรียนโพธิสารพิทยากร คือ
  1. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รับผิดชอบหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ ภาษาไทย พลานามัย และช่วยปรับปรุงห้องสมุด
  2. โรงเรียนสตรีวิทยา รับผิดชอบหมวดวิชาภาษาอังกฤษ สังคมศึกษาคณิตศาสตร์ และงานแนะแนว
  3. โรงเรียนวัดน้อยใน รับผิดชอบหมวดวิชาศิลปศึกษา การงานอาชีพและอาคารสถานที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและโรงเรียนสตรีวิทยา จะรับนักเรียนให้เรียนต่อชั้น ม.4 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและสตรีวิทยา โดยไม่ต้องสอบคัดเลือก แต่พิจารณาผลการเรียนใน 6 หมวดวิชา คือ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย พลานามัย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา และคณิตศาสตร์ เมื่อได้คะแนนสะสมเฉลี่ย 5 ภาคเรียน 2.50 ขึ้นไป และความประพฤติดี โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 ปรากฏว่า สามารถรับนักเรียนได้เกินแผนที่กำหนดไว้และจัดแผนชั้นเรียนเป็น 5-2-2 จำนวนนักเรียน 325 คน
ปีการศึกษา 2531 รับนักเรียนได้เกินแผนโดยจัดแผนชั้นเรียนเป็น 7-5-2 จำนวนนักเรียน 563 คน

ปีการศึกษา 2532 สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 4 ห้อง เต็นท์ 4 หลัง อาคารมุงจาก 1 หลัง เพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้รื้อถอนอาคารไม้ 2 ชั้น แบบอุดร เพื่อเตรียมใช้เป็นสถานที่สร้างอาคารเรียนแบบพิเศษแทน

ปีการศึกษา 2533 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 6 ชั้น เป็นเงินงบประมาณ 7,199,000 บาท แต่ไม่มีผู้มาประมูล จึงต้องทำการเปลี่ยนแปลงราคาใหม่ ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสัมมิทก่อสร้างประมูลได้ในราคา 11,450,000 บาท และผูกพันในปีงบประมาณ 2535-2538 จำนวน 19 ล้านบาท เพื่อให้อาคารหลังนี้มีทั้งห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน และสามารถใช้เป็นห้องประชุมได้ ชั้นบนเป็นดาดฟ้า มีลิฟต์ติดตั้ง 2 ตัว ในปีการศึกษานี้ อยู่ในระหว่างการก่อสร้างต่อได้รับงบประมาณตามโครงการพัฒนาชนบทและชุมชน ตามข้อเสนอของสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ 2533 สร้างศาลาประชาสัมพันธ์ โรงเรียนโพธิสารพิทยากร

ปีการศึกษา 2534 เนื่องจากความจำเป็นในเรื่องห้องเรียน จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น เป็น 1,338 คน ดังนั้นทางโรงเรียนจึงต้องใช้สนามฟุตบอลของโรงเรียนมาทำการก่อสร้างอาคาร หลังคาจาก 2 หลังและเพื่อให้นักเรียนไม่ต้องผจญกับความร้อนของอากาศ จึงเปลี่ยนอาคารเต็นท์ 5 หลัง มาเป็นอาคารจากหลังที่ 4 รวมมีอาคารจากทั้งสิ้น 6 ชุด 17 ห้องเรียน และยังต้องใช้ศาลาการเปรียญของวัดเป็นสถานที่เรียนอีกส่วนหนึ่งด้วยได้รับ อนุมัติให้สร้างห้องน้ำ-ห้องส้วมแบบมาตรฐานเป็นของ นักเรียนชาย

ปีการศึกษา 2535 ได้รับอนุมัติให้สร้างห้องน้ำห้องส้วมแบบมาตรฐาน เป็นของนักเรียนหญิงและต่อเติมอาคารเรียนแบบพิเศษ 6 ชั้น จากปีงบประมาณ 2533 โดยได้รับงบประมาณเพิ่มอีก 21 ล้านบาท
ในปีการศึกษา 2536 ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อมกราคม พ.ศ 2537 เนื่องจากบริเวณสนามบาสเกตบอลมีน้ำท่วมขังทุกครั้งที่ฝนตกหนัก ทำให้เกิดปัญหากับนักเรียนที่เรียนอยู่บริเวณอาคารหลังคาจาก คุณวรพันธ์-คุณกรรณิการ์ ปิณฑวณิช จากบริษัทพร้อมมิตรคอนกรีต จำกัดได้บริจาคเงินจำนวน 228,400 บาท เพื่อเทคอนกรีตถมสนามให้สูงขึ้น และได้ทำพิธีมอบให้โรงเรียน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2536 โดยท่านรองอธิบดี ฯ สมหมาย เอมสมบัติ ( ขณะนั้นเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมสามัญศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา) เป็นประธานในพิธี และโรงเรียนได้ตั้งชื่อสนามบาสเกตบอลว่า “ สนามหลวงพิลาศวรรณสาร ”

ปีการศึกษา 2536 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวแบบถอดประกอบได้ 6 หลัง 12 ห้องเรียน และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 6 ชั้น เต็มรูป เป็นหลังที่ 2 จึงได้รื้ออาคารหลังคาจากออก

ปีการศึกษา 2537 เนื่องจากอาคารเรียนแบบพิเศษ 6 ชั้น หลังที่ 2 อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เพื่อป้องกันไม่ให้นักเรียนที่ข้ามถนนมาจากอาคารชั่วคราวเกิดอุบัติเหตุ โรงเรียนจึงย้ายอาคารชั่วคราวมาสร้างหลังอาคารเรียนแบบพิเศษ 6 ชั้น หลังที่ 1 จำนวน 2 หลัง 4 ห้องเรียน และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างอาคารหลังที่ 3 จำนวน 12 ห้องเรียน ไว้กลางสนามตามเดิม เพื่อใช้เป็นที่เรียนของนักเรียน อาคารแบบพิเศษ 6 ชั้น ก่อสร้างเสร็จสิ้นเต็มรูปในเดือนมีนาคม ดังนั้น ในปีการศึกษา 2538 โรงเรียน จึงมีอาคารเรียนแบบพิเศษ 6 ชั้น 2 หลัง อาคารเรียน 3 ชั้น 1 หลัง ซึ่งเพียงพอต่อการให้บริการทางการเรียนการสอน

ปีการศึกษา 2538 - 2539 โรงเรียนก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 5 ชั้น 1 หลัง ด้วยพื้นที่ของโรงเรียนมีจำกัด อาคารนี้จึงต้องสร้างบริเวณกลางสนาม (อาคารหลังคาจากเดิม) โดยเชื่อมต่อกับอาคารแบบพิเศษ 6 ชั้น สร้างเสร็จประมาณเดือนธันวาคม 2539

ปีการศึกษา 2540 ปรับภูมิทัศน์โรงเรียน โดยการจัดสวนหย่อมบริเวณซุ้มหลวงปู่นวล หน้าอาคารกาญจนาภิเษก ห้องน้ำ และสนับสนุนให้ครูและนักเรียนจัดสวนหย่อมภายในห้องเรียน ปลูกต้นพญาสัตบรรณหน้าโรงเรียน และปลูกต้นปาล์มบริเวณที่เข้าแถวเคารพธงชาติ

ปีการศึกษา 2541 สร้างศาลาที่พักผู้โดยสารและโรงจอดรถหน้าโรงเรียน จัดทำสวนหย่อมหน้าอาคาร 2 และปรับปรุงพื้นสนามลานเอนกประสงค์หน้าเสาธง

ปีการศึกษา 2542 สร้างเรือนเพาะชำ จัดทำสวนป่าหลังอาคาร 2 จัดทำห้องศูนย์วิทยบริการ ปรับปรุงพื้นห้องเรียนและห้องสำนักงาน โดยเปลี่ยนเป็นพื้นกระเบื้องทั้งหมด

ปีการศึกษา 2543 สร้างอาคารเรือนพยาบาลร่มโพธิ์ สร้างโรงผลิตน้ำดื่มชมพูพันธุ์ทิพย์ จัดทำรั้วหลังโรงเรียน ทำน้ำพุบริเวณลานบาสเกตบอล จัดสร้างห้องศูนย์วิชาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และได้เข้าร่วมโครงการประหยัดพลังงานของกระทรวง วิทยาศาสตร์ โดยเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศของเดิม จำนวน 42 เครื่อง เป็นเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 และเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าให้เป็นหลอดไฟฟ้าชนิดประหยัดพลังงาน โดยใช้บัลลาสอิเลคทรอนิคส์ จำนวน 1500 V.

ปีการศึกษา 2544 สร้างลานโพธิ์พุฒิภิรม ทาสีพื้นสนามลานอเนกประสงค์ จัดทำห้องศูนย์วัฒนธรรมไทย และห้องศูนย์วิชาภาษาญี่ปุ่น

ปีการศึกษา 2545 เป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในระดับชั้น ม.1 และ ม.4 ปรับปรุงโรงอาหารให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และสามารถให้บริการด้านโภชนาการแก่นักเรียนได้อย่างเพียงพอ โดยดำเนินการก่อสร้างและขยายโรงอาหารบริเวณชั้นล่างอาคาร 3 (โพธิสารคุณ) ด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตก โรงเรียน ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากเงินบริจาค

ปีการศึกษา 2546 จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (English Program : EP.) ระดับชั้น ม.1 จำนวน 2 ห้องจัดการเรียนการสอนในวิชาภาษาอังกฤษจากเจ้าของภาษาทุกรายวิชา และวิชาคอมพิวเตอร์ (Mini English Program : M.E.P.) ระดับชั้น ม.1 จำนวน 2 ห้อง ม.4 จำนวน 1 ห้อง ปรับปรุงทางเดินเท้าข้างอาคาร 38 ปี (โพธิสารคุณ) พื้นเวทีเสาธง และเสาธงโรงเรียน พื้นที่ของโรงเรียนมีปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณสนามและลานอเนกประสงค์โดยรอบใน ภาวะฝนตก เป็นอุปสรรคสำหรับนักเรียนในการใช้สนามเล่นเพื่อ ออกกำลังกาย การจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนการสอนและการสัญจรภายใน โรงเรียนจึงได้ระดมทรัพยากรจากชุมชนโดยการรับบริจาค จัดกิจกรรมการกุศลต่างๆ ดำเนินการปรับปรุงลานอเนกประสงค์โดยรอบโรงเรียน

ปีการศึกษา 2547 ปรับปรุงต่อเติมดาดฟ้าอาคารไทรพุฒทอง เพื่อจัดทำห้องออกกำลังกาย ห้องปิงปอง ห้องยืดหยุ่น โยคะ และจัดทำห้องเรียนชั้น 2 จำนวน 4 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2548 สร้างหลังคาคลุมลานอเนกประสงค์บริเวณหน้าเสาธง และดำเนินการติดตั้งเครื่องระบายความร้อนระบบไอน้ำที่โรงยิม

ปีการศึกษา 2549-2550 ปรับปรุงห้องเรียน E.P./M.E.P. ชั้น 5 ปรับปรุงห้องน้ำครู ซ่อมแซมห้องน้ำนักเรียนชาย – หญิง ชั้น 1 อาคาร 3 ตลอดจนปรับปรุงพื้นโรงอาหาร ซ่อมแซมผนัง โรงฝึกงานอุตสาหกรรม และทาสีอาคาร 3

 ประวัติ ผู้อำนวยการ

 ผลงานดีเด่นหรือรางวัลที่ได้รับ

  • 1. ศิษย์เก่าดีเด่น ประเภท นักบริหาร สาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2550
  • 2. ผู้บริหารที่มีผลงานดีเด่น สมาคมผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย 2549

 แนวคิดในการพัฒนาและการบริหารโรงเรียน

  • 1. ด้านนักเรียน จะมุ่งเน้นพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณะรรม ส่งเสริมความรู้และความสามารถพิเศษเต็มตามศักยภาพ นำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ สนัสนุนให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมที่เสริมสร้างความเจริญด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ
  • 2. ด้านครู จะสนับสนุนให้คณะครูได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพควบคู่กับการสร้าง ขวัญกำลังใจ และสวัสดิภาพที่ดี จะส่งเสริมให้ครูมีวิทยฐานะที่สูงขึ้นไม่ต่ำกว่าปีละ 15% สร้างแนวคิดร่วมกันในการเป็นครูมืออาชีพ มีผลงาวิจัย แผนการสอนและพัฒนาสื่อได้อย่างเหมาะสม นำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดทำหลักสูตรและพัฒนาการเรียนการ สอนอย่างต่อเนื่อง
  • 3. ด้านโรงเรียนและชุมชน จะนำจุดแข็งของชุมชนทั้งภาคราชการ เอชน และวัดวาอาราม มาร่วมพัฒนาการศึกษา ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม สร้างชื่อเสียงเกียรติคุณให้แก่โรงเรียนให้เป็นโรงเรียนชั้นนำ มีมาตรฐานเป็นแบบอย่างแก่โรงเรียนอื่นๆ ได้
  • 4. ด้านภารกิจที่ได้รับมอบหมาย จะปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่น และอุตสาหะ วิริยะ ตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อราชการและภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

 ประวัติการ ศึกษา

  • ปริญญาตรี กศ.บ. วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก 2515
  • ปริญญโท ค.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2550
  • ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย 2549

 คณะ ผู้บริหาร

  • นายธวัช หมื่นศรีชัย
ผู้อำนวยการโรงเรียน
  • นางสาวสุรีย์ กันภัย
รองผู้อำนวยการ กลุ่มบริหารงบประมาณ
  • นางวัลยา โกสุม
รองผู้อำนวยการ กลุ่มบริหารวิชาการ
  • นางสาวนุชจรีย์ สุนทรวรรณ
รองผู้อำนวยการ กลุ่มบริหารงานบุคคล
  • นายพิศณุ ศรีพล
รองผู้อำนวยการ กลุ่มบริหารทั่วไป

 ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

ข้อมูลทั่วไป
อักษรย่อ   พ.ส. (PS)

รหัสสถานศึกษา   1000101903

ชื่อภาษาอังกฤษ   Potisarnpittayakorn School

วันสถาปนา    พ.ศ. 2499

ผู้ก่อตั้ง   พระครูโพธิสารคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์

ประเภท   รัฐบาล


สังกัด   สำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การจัดการศึกษา   ม.1-ม.6

ผู้อำนวยการ   นายธวัช หมื่นศรีชัย

เพลงสถาบัน   มาร์ชโพธิสาร

สีประจำสถาบัน   น้ำเงิน-ชมพู


ลูกสังกัด

Facebook
http://th-th.facebook.com/pages/rongreiyn-phothi-sar-phithya-kr/112032398823193

Facebook ของ ปิง
http://www.facebook.com/teeratorn.moonpanyo

Facebook ของ ปุ้น
http://www.facebook.com/VanZPoonz