วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

Ctrl+Alt+Delete

คอนโทรล (Ctrl) ออลติเนต (Alt) และดีลีท (Delete) คือคำสั่งยอดฮิตสำหรับจัดการกับคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ทั่วไปรู้จักกันดี โดยทั้งสามปุ่มนี้จะต้องกดพร้อม ๆ กัน จากนั้นระบบจะทำการบูตเครื่องใหม่ ซึ่งทั้งสามปุ่มนี้ เป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายมาตลอด 10 ปีที่คอมพิวเตอร์มีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์เรา

“เดวิด บรัดเลย์ (David Bradley)” หนึ่ง ในพนักงานจากยักษ์ใหญ่สีฟ้า “ไอบีเอ็ม” เขาคือผู้คิดค้นโค้ดคำสั่งดังกล่าว โดยใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาที ในการเขียนโค้ดคำสั่ง แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เขาได้สร้างคำสั่งที่ตรงใจผู้ใช้และจำเป็นมากที่สุดคำสั่งหนึ่งเลยทีเดียว

บรัด เลย์เข้า ร่วมงานกับไอบีเอ็มเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1975 ในตำแหน่งวิศวกร ประจำอยู่ที่โบคา ราตัน รัฐฟลอริด้า จากนั้นในปี 1980 เขาคือทีมงาน 1 ใน 12 คนของไอบีเอ็มที่ปลุกปั้นคอมพิวเตอร์พีซีขึ้นมา ซึ่งนั่นทำให้เขาย้ายมาทำในส่วนของการวิจัยและพัฒนาให้กับไอบีเอ็ม

โดย ในยุคเริ่มแรกของพีซีนั้น พวกเขาจำเป็นต้องออกแบบให้มันใช้งานได้ง่ายที่สุด รวมถึงวิธีการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่มันทำงานผิดพลาด หรือเกิดแฮงค์ขึ้นมานั่นเอง และโค้ดคำสั่ง Ctrl + Alt + Delete ก็คือหนึ่งในหลาย ๆ คำสั่งที่บรัดเลย์คิดขึ้นมาได้

“ในตอน นั้นผมไม่ทราบหรอกว่ามันจะกลายเป็นคำสั่งสำคัญของคอมพิวเตอร์พีซีในอนาคต เพราะว่าผมก็ต้องคิดคำสั่งต่าง ๆ อีกมากมาย นอกเหนือจาก Ctrl+Alt+Delete แต่ปรากฏว่าคำสั่งดังกล่าวนี้ เป็นที่รู้จักมากที่สุด”

แต่ก็ อาจกล่าวได้ว่า ชื่อเสียงที่โด่งดังของเขานั้น ขึ้นอยู่กับความผิดพลาดของคนสร้างโปรแกรม ว่าจะสร้างพลาดมากน้อยเพียงไร โดยเขากล่าวว่า “ผมอาจจะเป็นคนสร้างมันขึ้นมา แต่บิล เกตต์ คือคนที่ทำให้มันเป็นที่รู้จัก” ซึ่ง การสรรเสริญของบรัดเลย์ต่อบิล เกตต์ครั้งนี้ ทำให้เจ้าของค่ายยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ ผู้สร้างซอฟต์แวร์Microsoft’s Windows ชื่อดังถึงกับหัวเราะไม่ออกมาแล้ว เพราะอีกนัยหนึ่งก็คือ การตอกย้ำให้เห็นถึงความผิดพลาดในการทำงานของซอฟต์แวร์ของบิล เกตต์นั่นเอง


ปัจจุบัน บรัดเลย์มีอายุ 55 ปี และได้ลาออกจากไอบีเอ็ม บริษัทที่เขาใช้เวลาร่วมด้วยนานเกือบทั้งชีวิต เป็นระยะทางทั้งสิ้น 28.5 ปีแล้ว จากนั้นรายงานระบุว่า เขาจะใช้เวลาหลังการเกษียณตัวเองในการสอนนักศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยนอร์ท แคโรไลน่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น