Credit
คัมภีร์ สยบแฮกเกอร์ (#4)
http://www.pantip.com/tech/internet/topic/IT1062643.html
ตำ นานแฮคเกอร์
แฮคเกอร์ (Hacker), แครกเกอร์ (Cracker) และผู้ไม่หวังดีต่อคอมพิวเตอร์ (Computer Vandal)
แรกเริ่มเดิมที คำว่า"แฮคเกอร์"นั้นหมายถึง บุคคลที่ความเข้าใจในการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างลึกซึ้ง จนถึงขั้นสามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างลื่นไหลไม่มีติดขัด โดยที่ไม่ต้องคิดวางแผนไว้ก่อนเลยว่าจะเขียนโปรแกรมไปในแนวทางไหน ความเข้าใจและทักษะทางคอมพิวเตอร์ของคนประเภทนี้ดูเหมือนเป็นสัญชาตญาณที่ ติดตัวพวกเ
ขามาตั้งแต่เกิด คนพวกนี้ยังมีลักษณะที่เหมือนกันอีกประการหนึ่งคือ มีความกระหายในการใช้คอมพิวเตอร์และข้อมูลมากเสียจนมีความต้องการให้ คอมพิวเตอร์และข
้อมูลทั่ว ๆไปเปิดกว้างให้คนทั่วไปเข้าไปใช้ได้อย่างอิสระและไม่คิดมูลค่า ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
นั่นทำให้คำว่า "การแฮค" มีความหมายถึง การเข้าไปสำรวจตรวจตราระบบคอมพิวเตอร์ใดๆ ก็ตามอย่างอิสระเสรี เพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นทางวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ จริงๆ แล้ว การแฮคมีความหมายสองความหมายแฝงอยู่ คือการท่องไปในระบบเพื่อค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้และสิ่งที่ต้องห้าม และการเขียนโปรแกรมอย่างมีชั้นเชิง เราอาจสืบสาวหาต้นกำเนิดของคนพันธุ์ที่กระหายใคร่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์อย่าง แรงกล้าแ
ละต้องการทำทุกอย่างที่ไม่ผิดกฏหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ นี้ ไปที่บรรดามหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งรวมหัวกะทิทางวิชาการ โดยเฉพาะเอ็มไอที และสแตนฟอร์ด ในยุคทศวรรษที่ 60
แต่ปัจจุบัน คำว่า "การแฮค" กลับถูกนำไปใช้เรียกการบุกรุกเข้าไปยังระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือใช้หมายถึงอาชญากรรมใดๆ ที่คนร้ายกระทำต่อคอมพิวเตอร์หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ยุคแรกเกิดขึ้นในในตอนต้นทศวรรษที่ 70 เมื่อพนักงานขายรู้จักใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างหลักฐานการขายปลอมขึ้นมา เพื่อตบตาเจ้
านายของตน ความเสียหายที่เกิดจากแฮคเกอร์ของยุคนั้นคิดเป็นมูลค่าหลายล้านเหรียญ การที่หนังสือเล่มนี้ถือว่าการฉ้อโกงเหล่านั้นเป็นการกระทำของแฮคเกอร์ด้วย ก็เพราะเราดูการกระทำเป็นหลัก การเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ทั้งสิ้น
โดยไม่ต้องสนใจว่าผู้กระทำมีเจตนาดีร้ายอย่างไร
สาเหตุสำคัญ ที่สุดที่ทำให้ความหมายของคำว่า "แฮคเกอร์" บิดเบือนไปจากความหมายดั้งเดิม ก็เพราะผู้บุกรุกระบบคอมพิวเตอร์โดยประสงค์ร้ายเหล่านั้นนั่นเองที่มักเรียก ตัวเองว่
า"แฮคเกอร์" เพราะย่อมไม่มีใครยอมรับอยู่แล้วว่าตนเป็น "นักบุกรุกระบบคอมพิวเตอร์" หรือ "แครกเกอร์" (นักงัดแงะ) หรือ "ผู้ไม่หวังดีต่อคอมพิวเตอร์" ส่วนคำที่ใช้เรียกเพื่อแยกแยะแฮคเกอร์ดีออกจากแฮคเกอร์ไม่ดีเหล่านี้ ถูกนำมาใช้โดยแฮคเกอร์ที่ถือว่าพวกตนเป็นแฮคเกอร์ขนานแท้และดั้งเดิม ผู้ซึ่งไม่ยอมให้คำว่าแฮคเกอร์ถูกทำให้แปดเปื้อนโดยบรรดาผู้บุกรุกระบบที่ ไม่มีคุณธร
รม ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่เองที่พวกเขาเหล่านั้นจะค้านอย่างหัวชนฝาในการ ใช้คำว่าแฮ
คเกอร์กับพวกประกอบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์อย่างเหมารวมเช่นนี้ เพราะนั่นได้ทำให้ศักดิ์ศรีของแฮคเกอร์ขนานแท้และดั้งเดิมอย่างพวกเขาถูก บั่นทอนลงไป
แต่ดูเหมือนว่าคงจะยากที่จะเปลี่ยนความเคยชินของคนส่วนใหญ่ เสียแล้ว แม้จะมีบางส่วนที่ใช้คำอื่นแทนคำว่าแฮคเกอร์อยู่บ้าง เช่นคำว่า "ไซเบอร์พังก์" เป็นต้น
พวกแฮคเกอร์ยุคใหม่สืบเชื้อสายมาจากคนอีกพวก หนึ่งซึ่งหลงใหลในการเล่นกับระบบโทรศัพท
์ ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่าพวก"เล่นโทรศัพท์" (Phone Phreaks) คนพวกนี้ดำรงตนอยู่ในเจตนารมณ์ของพวกฮิปปี้ที่ไม่ต้องการมีชีวิตที่ขึ้นกับ ใคร (การใช้ชีวิตแบบยิปปี้ส์ - Yippies) พวกเขาเล่นกลกับระบบโทรศัพท์จนสามารถโทรฟรีไปไหนก็ได้เพื่อเป็นการแสดงออก ซึ่งการต่อ
ต้านการขึ้นภาษีของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในสมัยสงครามเวียดนาม เมื่อเวลาผ่านไป ระบบโทรศัพท์มีการพัฒนามาใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานมากยิ่งขึ้น พวกเล่นโทรศัพท์จึงมีโอกาสได้ยักย้ายถ่ายเทความสามารถมายังระบบคอมพิวเตอร์ ด้วย
ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ คำว่า "phreaking" และ "hacking" แทบไม่ได้มีความแตกต่างกันเลย เช่นเดียวกับระบบโทรศัพท์กับระบบคอมพิวเตอร์ที่นับวันจะมีความเกี่ยวดองกัน มากขึ้นเร
ื่อยๆ เพราะระบบโทรศัพท์ก็อาศัยคอมพิวเตอร์ในการทำงาน ส่วนระบบคอมพิวเตอร์ก็ติดต่อสื่อสารกันผ่านทางระบบโทรศัพท์
แฮคเกอร์ยุค ปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นหรือนักเรียนนักศึกษาที่มีพื้นฐานทางบ้านอยู่ในระดับ ชนชั้นกลา
ง ไม่ได้ขัดสนยากจนเท่าใดนัก และมีความคิดต่อต้านวัตถุนิยมอย่างเห็นได้ชัด (แต่ไม่ต่อต้านการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ) แฮคเกอร์คนใดก็ตามที่มีแรงจูงใจในการแฮคจากเงินทองหรือวัตถุต่างๆ (ซึ่งตรงกันข้ามกับแรงจูงใจที่ไม่เป็นวัตถุนิยม เช่น ความต้องการอำนาจ ความรู้ และสถานภาพทางสังคม) จะถูกดีดออกไปจากกลุ่มอย่างรวดเร็ว
แฮ คเกอร์เหล่านี้มองภาพตัวเองว่า พวกเขาเป็นเหมือนคาวบอยในยุคตะวันตกเฟื่องฟูที่มีชีวิตอยู่ในยุคนี้ เป็นผู้บุกเบิกชั้นหัวกะทิแห่งโลกอิเลคทรอนิค โลกซึ่งผู้ที่แฮคเก่งที่สุดสมควรได้รับการยกย่องมากที่สุด เช่นเดียวกับที่มือปืนที่ชักปืนได้รวดเร็วที่สุดได้เป็นวีรบุรุษแห่งตะวันตก การตีกรอบคนพวกนี้ให้ยอมรับกฏเกณฑ์ของสังคมและของทางการดูจะเป็นการบีบคั้น จิตใจพวกเ
ขาอย่างที่สุด
แฮคเกอร์ไม่เคยคิดว่าการแฮคของพวกเขาเป็นการ กระทำของ"โจร" เพราะพวกเขาคิดว่า การใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบโทรศัพท์ของผู้อื่นโดยที่ไม่ได้ไปทำอันตราย ใครนั้น มันเป็นแค่การเล่นสนุกเท่านั้น คิดดูสิ ระบบโทรศัพท์ก็เป็นอย่างนั้นของมันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมีใครใช้หรือไม่มีใครใช้มันก็ตาม ไม่เห็นมีใครเสียหายอะไรสักหน่อย จริงมั้ย ตราบใดที่คุณไม่ได้ไปทำให้ระบบใช้การไม่ได้ ไม่ได้ใช้ทรัพยากรของระบบมากจนเกินไป และไม่มีใครจับคุณได้ เพราะไม่เห็นมีอะไรสึกหรอไปแม้แต่อย่างเดียว และคุณก็ไม่ได้ "ขโมย" อะไรไปเลยด้วย
แฮคเกอร์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตหมกมุ่นกับข้อมูลที่ไม่ เป็นที่เปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นกลไกลึกๆของระบบคอมพิวเตอร์ การทำงานของระบบโทรศัพท์ ระบบของตู้เอทีเอ็ม หรือวิธีการสร้างเครื่องตรวจหาสัญญาณวิทยุ ความสนใจและทักษะความสามารถในเรื่องราวที่เป็นความลับเหล่านี้ ทำให้แฮคเกอร์เป็นที่สนใจของคนอีกจำพวกหนึ่งซึ่งต้องการรู้ข้อมูลต้องห้าม เช่นเดียวก
ัน แต่ต่างกับแฮคเกอร์ที่ต้องการรู้ข้อมูลเพียงเพราะอยากรู้อยากเห็น ตรงที่คนจำพวกนี้จะใช้ความรู้ที่ได้ไปกอบโกยประโยชน์ใส่ตัวหรือไม่ก็นำไป สร้างความเด
ือดร้อนแก่ผู้อื่น โดยมากแฮคเกอร์จะไม่สนใจคนพวกนี้เท่าใดนัก แต่ก็มีบ้างที่แฮคเกอร์จะยอมโอนอ่อนตามเมื่อได้รับข้อเสนอค่าตอบแทนเป็นตัว เลขจำนวนเ
งินอย่างงาม
นั่นเป็นเรื่องที่อันตราย แต่จะยิ่งอันตรายมากขึ้นไปอีก ถ้าตัวแฮคเกอร์เริ่มมีความคิดประสงค์ร้ายเสียเอง หรือในทางกลับกัน พวกประสงค์ร้ายเริ่มเรียนรู้ที่จะลงมือแฮคด้วยตัวเอง ทุกวันนี้ การบุกรุกระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเจตนาเพียงเพื่อเสาะหาความรู้และความตื่นเต้น ใหม่ๆ เริ่มลดน้อยลง อย่างน้อยก็ในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่แนวโน้มของการกระทำความผิดด้วยอุปกรณ์อิเลคทรอนิค โดยเฉพาะที่ผ่านทางระบบเครือข่าย กลับเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจาก นั้น เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับการเจาะระบบยังได้รับการปรับปรุงให้ใช้งานได้ ง่ายขึ้นในป
ัจจุบัน จึงเหมาะสำหรับแฮคเกอร์มือใหม่ทั้งหลายที่ไม่ต้องบ่มเพาะความสามารถและประสบ การณ์เป็
นเวลาหลายๆ ปีอีกต่อไป เป็นผลทำให้มีผู้สนใจที่ไม่ได้มีความรู้คอมพิวเตอร์มากมายกระทำตัวเป็นแฮ คเกอร์มากขึ
้น ระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ จึงถูกโจมตีมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
ใน โลกธุรกิจ เมื่อการแข่งขันระหว่างบริษัทต่างๆ รุนแรงขึ้น ก็เริ่มมีการใช้วิธีการที่ไม่สุจริตเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบทางธุรกิจ อาทิเช่น การโจรกรรมข้อมูล โดยการว่าจ้างแฮคเกอร์หรือสายลับไปขโมยข้อมูลที่เป็นความลับ เป็นต้น การกระทำความผิดประเภทนี้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต แต่ถ้าเปรียบเทียบกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์อื่นๆ แล้ว ก็ยังถือว่าเป็นส่วนน้อยอยู่
นับวันภาพของแฮคเกอร์จะเปลี่ยนไปในทางร้าย มากยิ่งขึ้นทุกที จนเราอาจวาดภาพแฮคเกอร์ได้ว่า เป็นบุคคลที่ซุกซ่อนตัวอยู่ ณ มุมมืดมุมใดมุมหนึ่งในโลก ซึ่งพร้อมที่จะปรากฎตัวออกมาเพื่อระบายความบ้าคลั่งที่เก็บซ่อนอยู่ภายใน โดยมุ่งสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นเพื่อความสะใจของตัวเอง โดยไม่หวั่นเกรงว่าใครจะมาจัดการพวกเขาได้ เพราะพวกเขาคือผู้ครอบครองคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์ก็ครอบครองการทำงานของทุกอย่างในโลกนี้
หากมีพลังอำนาจใด ก็ตามที่ถูกใช้โดยขาดความรับผิดชอบหรือขาดการตรวจสอบควบคุม ก็เป็นเรื่องน่ากลัวมากทีเดียว ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงควรยอมรับว่า แฮคเกอร์เป็นผู้กุมพลังอำนาจอันน่ากลัวเอาไว้ ความกลัวนี้ไม่ใช่เรื่องไร้เหตุผลเลย และไม่ใช่เป็นเพียงความกลัวแบบเดียวกับที่เรากลัวอาชญากรรมประเภทอื่นๆด้วย แต่เป็นความกลัวต่อการแก้แค้นที่กระทำลงไปโดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมาแม้แต่ น้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น