วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำศัพท์ ที่เกี่ยวกับ hack

คำศัพท์ ที่เกี่ยวกับ hack

คำศัพท์เกี่ยวกับการ hack ศัพท์อินเทอร์เน็ต และคอมพิวเตอร์ที่น่ารู้ 

 


ACK (Acknowledgment) แอค หรือการตอบรับ เป็นส่วนหนึ่งของโปรโตคอล สื่อสารข้อมูลการได้รับ  

ACK หมายความว่า ข่าวสารที่ส่งออกไปได้รับแล้วเรียบร้อย หรือหมายความว่า ตกลงตามข้อเสนอที่ 

เสนอไป ตรงข้ามกับ NAK

 


Acrobat > อโครแบต เป็นชุดของเครื่องมือของบริษัท Adobe Corporation ซึ่งช่วยให้ผู้จัดทำเอกสาร

แปลงไฟล์ที่อยู่ในรูปแบบโพสต์สคริปต์ (Postscript) ให้อยู่ในรูปแบบเอกสารที่โอนย้ายได้ (Portable 

Document Format) รวมทั้งเครื่องมือที่ช่วยในการแสดงเอกสารในรูปแบบนี้ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่ว

ไป ภาษาโพสต์สคริปต์เป็นภาษาที่เรียกได้ว่า มีหลายสำเนียง  แต่ละสำเนียง ก็มีความแตกต่างกันและใช้

เฉพาะกับเครื่องพิมพ์รุ่นใดรุ่นหนึ่ง ทำให้เกิดปัญหาในการส่งเอกสาร รูปแบบโพสต์สคริปต์ระหว่างเครื่อง 

อโครแบตช่วยแก้ปัญหาการส่งข้ามเครื่อง และยังสามารถแสดงเอกสารบนหน้าจอได้โดย ไม่จำเป็นต้อง

พิมพ์ออกมา

 

Address Resolution Protocol (ARP) เออาร์พี เป็นโปรโตคอลบนอินเตอร์เน็ต ที่ให้ทีซีพี/ไอพีทำงาน

กับอุปกรณ์ และโปรโตคอลมาตรฐาน ที่ระดับต่ำกว่าได้ ARP จะเปลี่ยนหมายเลขไอพีของเครื่องปลาย

ทางที่ส่งมาในอินเตอร์เน็ต ให้เป็นหมายเลขแอดเดรส ของเน็ตเวิร์กการ์ด ในเครื่องนั้นดังเช่นในกรณีที่ที

ซีพี/ไอพีบนเครือข่ายอีเธอร์เน็ต การเปลี่ยนแอดเดรสของ ARP จะเกิดการทำงานของทีซีพี/ไอพี 

ซอฟต์แวร์เองโดยอัติโนมัติ

 

Anonymous FTP เป็นเอฟทีพีเซิร์ฟ ที่ยอมให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์ไปใช้โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชี บน 

เซิร์ฟเวอร์นั้น (แต่ผู้ใช้ต้องใส่ชื่อบัญชี "anonymous" เป็นชื่อล็อกอินแทน) มีเซิร์ฟเวอร์บนอินเตอร์เน็ต

หลายแห่งที่ให้บริการนี้ ให้ดูที่คำว่า Archie เพิ่มเติม

 

API, Applications Programming Interface เอพีไอ เป็นวิธีการติดต่อ เพื่อขอใช้บริการของระบบ

ปฏิบัติการ จากโปรแกรมอื่นที่เขียนขึ้น โดยโปรแกรมเมอร์ ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องทราบวิธีการเหล่านี้ 

แต่บางครั้งต้องรู้ว่า ทีซีพี/ไอพีซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่นั้นมีวิธีการติดต่อ เป็นแบบใด เพื่อเลือกโปรแกรมที่จะ

มาใช้งานได้ถูกต้อง เช่น ถ้าทีซีพี/ไอพีซอฟต์แวร์ที่ใช้ มีการติดต่อแบบ (Winsock API) ก็ต้องเลือกโก

เฟอร์ไคลเอ็นต์ ที่ใช้การติดต่อแบบนี้ด้วยเช่นกัน

 

Archie อาร์ซี เป็นบริการในเครือข่าย ที่ช่วยในการค้นหาตำแหน่งของ annonymous FTP ที่มีไฟล์ที่

ต้องการ เขียนโดยมหาวิทยาลัยแมคกิล (และปัจจุบันดูแลโดย Bunyip Information Systems) ในรุ่นถัด

ไป อาร์ซีจะสามารถค้นหาไฟล์ตามบทย่อ ชื่อผู้เขียน รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆได้ และเป็นเครื่องมือที่มีความ

สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการค้นหาทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต

 

ASCII file แอสกี้ไฟล์ เป็นไฟล์ที่เข้ารหัสตามมาตรฐาน ASCII (American Standard Code for 

Information Interchange) มีรหัสอักษรทั้งหมด 128 ตัว คำว่า "flat ASCII file" มักจะใช้เรียก

เท็กซ์ไฟล์ที่ไม่มีอักษรควบคุมพิเศษ หรือมีข้อมูลแบบไบนารีเลย ในการดาวน์โหลดไฟล์โดยใช้ 


เอพทีพีไฟล์ชนิดเท็กซ์ จะหมายถึงแอสกี้ไฟล์





Asynchronous Transfer Mode (ATM) เอทีเอ็ม เป็นสื่อชนิดใหม่เหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลบน

สายสื่อสารที่มีความ เร็วสูง (เช่นสายไฟเบอร์ออพติก) และมีความสามารถในการทำสวิชชิ่งได้เร็ว 


เอทีเอ็มจะย้ายข้อมูลขนาด 53 ไบต์ที่เรียกว่า "เซลล์" (ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขนาดของแพคเก็ต ที่ใช้ใน


อีเธอร์เน็ตมาก) เอทีเอ็มเป็นมาตรฐานการสื่อสารระกับต่ำชนิดแรกที่ใช้งานได้ดี ทั้งในเครือข่ายท้องถิ่น

และเครือข่ายระยะกว้าง


 

Authoring Tool เป็นเครื่องมือช่วยทำเอกสาร เป็นซอฟต์แวร์(อาจจะเป็นฮาร์ดแวร์ก็ได้) ที่ช่วยในการจัด

ทำเอกสารออนไลน์ โดยเฉพาะเอกสารประเภทไฮเปอร์เท็กซ์ หรือมัลติมิเดีย

 

Account บัญชี รูปแบบของการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ หรือข่ายงาน โดยต้องมีบัญชีชื่อผู้ใช้เฉพาะ และรหัส

ผ่าน ซึ่งข้อตกลงระหว่างผู้ใช้ กับผู้ให้บริการในข่ายงาน ผู้ใช้ต้องตกลงปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆ ในการ

เข้าถึงข่ายงาน และในบางกรณีต้องมีการจ่ายค่าบริการด้วย

 

anonymous การถ่ายโอนแฟ้มโดยไม่ระบุชื่อ การใช้โปรแกรมในการถ่ายโอนแฟ้มในระบบ ที่เชื่อมโยง

กับอินเทอร์เน็ตในฐานะของ ผู้ใช้งานชั่วคราว เพื่อติดต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ที่เราไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าถึง 

ลงบันทึกเปิด (log on) เพื่อเข้าสู่สารบบ หรือถ่ายโอนแฟ้มจากคอมพิวเตอร์นั้นมายังเครื่องของเรา เมื่อ

เราลงบันทึกเปิดเข้าไปยังเครื่องบริการนั้นเราควรพิมพ์คำ "anonymous" เป็นชื่อของเราและพิมพ์เลขที่

อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรหัสผ่าน ในการของความช่วยเหลือในการค้นหาแฟ้มในเครื่องบริการ

นั้น เราสามารถใช้อาร์คี (Archie),โกเฟอร์ (Gopher) , เวส (WAIS) หรือ เวิล์ดไวด์เว็บ (WWW) ได้

 

Archie อาร์คี ระบบดรรชนีที่ใช้ในการค้นหาแฟ้มเฉพาะ หรือรายชื่อของคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ สามารถ

ใช้ได้โดยการเข้าถึงจากที่ใดๆ ก็ได้ในอินเทอร์เน็ต อาร์คีจะเป็นเครื่องมือสำหรับการค้นหาแฟ้มที่ระบุไว้ 

โดยสามารถเข้าถึงแฟ้มได้ จากการเก็บในที่ตั้งของเกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (FTP sites) ทั่วโลก ข้อเสีย

อย่างหนึ่งของอาร์คี ได้แก่ การที่ผู้ใช้ต้องทราบคำสะกดที่ถูกต้องของชื่อแฟ้มจึงจะสามารถค้นหาแฟ้ม

นั้นได้

 

Backbone กระดูกสันหลังเครือข่าย เป็นส่วนประกอบหลัก ที่เป็นที่รวมและแจกจ่ายข้อมูล ให้กับเครือข่าย

ย่อยๆ เป็นส่วนประกอบบนสุด ในระดับชั้นของเครือข่าย

 

Baseband สื่อกลางประเภทสายเคเบิลที่สามารถส่งข้อมูลได้เพียงช่องทางเดียว (ใช้แถบความถี่พื้นฐาน

ความถี่เดียว) อีเธอเน็ตเริ่มแรกถูกออกแบบเป็นสื่อประเภทเบสแบนด์ และยังมีการใช้งานในแบบนี้อยู่อีก

มาก (ถึงแม้ว่าบางครั้งจะมีการส่งข้อมูลของอีเธอเน็ตไปในสื่อแบบบรอดแบนด์)

 

Binary file ไบนารีไฟล์ เป็นกลุ่มข้อมูลขนาดหนึ่งไบต์เรียงต่อกัน ข้อมูลเหล่านี้มักไม่มีความหมายในตัว

มันเอง ไม่สามารถอ่านได้แบบข้อมูลเท็กซ์  ตัวอย่างเช่น ไฟล์ที่เป็นแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็น


ไบนารีไฟล์ การรับส่งไฟล์ประเภทนี้โดยใช้เอฟทีพี ต้องกำหนดประเภทของไฟล์เป็น "bin"หรือ "image"

 

Bind Berkeley Internet Domain Software ไบนด์ เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น สำหรับระบบเบิร์คลีย์

ยูนิกซ์ เพื่อให้เนมเซิร์ฟเวอร์ (name server) ใช้ในการทำงาน ทำงานเกี่ยวกับระบบชื่อโดเมน

 

Bridge บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ ที่ใช้ในการเชื่อมส่วนต่างๆ ของเครือข่ายท้องถิ่นเข้าด้วยกัน บริดจ์ทำงานใน

ระดับชั้นที่เรียกว่า "media access layer" ทำหน้าที่ในการส่งผ่านข้อมูล เช่น ดาต้าแกรมของอีเธอร์เน็ต

ข้ามส่วนของเครือข่าย ให้ดูที่คำว่า router เพิ่มเติม

Broadbandสื่อกลางประเภทสาย เคเบิลที่สามารถส่งข้อมูลได้หลายช่องทาง (ใช้แถบความถี่หลายความ


ถี่)

 

browser เบราเซอร์ เป็นเครื่องมือให้ผู้ใช้เรียกดูไฟล์ข้อมูล เบราเซอร์บางตัวมีความสามารถในการค้นหา

ข้อความที่อยู่ในไฟล์ ได้เช่นเดียวกับเท็กซ์เอดิเตอร์ แต่ไม่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข

ข้อมูลในไฟล์ คำว่าเพจเจอร์ (pager) ก็ใช้แทนความหมายนี้ได้ ในกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคำว่า "เบรา

เซอร์" เป็นชื่อเรียก ไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในการเรียกดูเอกสารในเว็บ

 

bandwidth< ช่องกว้างสัญญาณ การวัดความถี่ของจำนวนข้อมูลที่สามารถไหลไปในช่องสัญญาณ โดย

ใช้เป็นรอบ ต่อวินาที (hertz) หรือ บิต ต่อวินาที (bits per second)

 

CCITT ชื่อย่อขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ มีชื่อเต็มว่า คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโทรศัพท์

และโทรเลขระหว่างชาติ (International Telephone and Telegraph Consultative Committee) 

องค์กรนี้มีหน้าที่ในการจัดทำมาตรฐาน เช่น X.25 และ X.400 หน่วยงานที่ดูแล CCITT คือ 

International Telecommunications Union (ITU) ได้เปลี่ยนชื่อ CCITT เป็น ITU-T เรียบร้อยแล้ว

 

CD-ROM (Compact Disk-Read Only Memory) ซีดีรอม เป็นการนำเอาคอมแพ็คดิสก์ มาใช้ในการเก็บ

และจัดส่งข้อมูล หรือเอกสาร ที่มีปริมาณมาก แผ่นซีดีรอมเผ่นเดียวสามารถเก็บข้อมูลได้หลายร้อยเมกะ

ไบต์

 

Client/Server วิธีการประมวลผลแบบกระจายวิธีหนึ่ง โดยมีการโต้ตอบกัน ระหว่างไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์ที่

อยู่บนเครื่องของผู้ใช้ และเซิร์ฟเวอร์ซอฟต์แวร์ ที่อยู่บนโฮสต์คอมพิวเตอร์โฮสต์ คอมพิวเตอร์อาจจะ

เป็นยูนิกซ์ เมนเฟรม หรือเครื่องประเภทอื่นก็ได้ ไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์จะจัดการด้านการแสดงผลข้อมูล 

เซิร์ฟเวอร์ซอฟต์แวร์ จะทำหน้าที่ของฐานข้อมูลการติดต่อระหว่างซอฟต์แวร์ทั้งคู่ จะกำหนดโดยโปรโต

คอลเฉพาะ วิธีการประมวลผลแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์นี้ที่เป็นที่นิยมมากขึ้นเมื่อ เครื่องส่วนบุคคลและ

เครือข่ายมีความสามารถเพิ่มมากขึ้น

 

cracker แคร็กเกอร์ คือ ผู้ที่พยายามเจาะทำลายระบบป้องกันความปลอดภัยของระบบ คอมพิวเตอร์ เป็น

คำที่ใช้แทนคำว่า แฮกเกอร์ "hacker" เพื่อให้คำว่า แฮกเกอร์คงความหมายเดิมว่า เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้าน

โปรแกรม และแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ได้เก่ง

 

CSO เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลอย่างง่าย แบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ เช่น ข้อมูลสมุด

โทรศัพท์ เป็นชื่อย่อของ Computing Services Organzation ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ โปรโตคอล 

CSO ใช้กันมากในกลุ่มผู้ที่ใช้โกเฟอร์ ถึงแม้ว่าจะมีโปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานกว่า อยู่แล้วก็ตาม (บาง

ครั้งก็เรียกว่า CCSO)

 

Curses เคิร์สเซส เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนยูนิกซ์ ช่วยให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมแสดงข้อมูลได้

ทั่วจอเทอร์มินัล ชื่อเคิร์สเซส มาจาก เคอร์เซอร์คีย์

 

CWIS Campus-Wide Information System ระบบสารสนเทศของสถาบันการศึกษา เป็นระบบที่ให้

บริการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน เริ่มแรกมีการใช้กันในระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น ต่อมาเริ่มมีใช้กันใน

โรงเรียนด้วย ระบบ CWIS จะประกอบด้วยเอกสาร (เช่น ตารางรายวิชา กำหนดการ และแหล่งงาน) และ

การเชื่อมต่อไปยังระบบคอมพิวเตอร์อื่น (เช่นระบบห้องสมุดออนไลน์) ระบบ CWIS หลายแห่งพัฒนามา

จากเครื่องเมนเฟรม และได้เปลี่ยนมาใช้วิธีประมวลผลแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ในเวลาต่อมา โกเฟอร์


และเว็บเป็นซอฟต์แวร์หลักที่ใช้กันมาในระบบ CWIS บางแห่งก็ใช้ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีอื่น (เช่นที่ MIT 

จะใช้ซอฟต์แวร์ที่ชื่อ Techinfo ในการทำ CWIS

 

datagram ดาต้าแกรม เป็นชื่อเรียกหน่วยของข้อมูลที่ส่งถูกส่งไปในเครือข่าย ข้อมูลชุดหนึ่งที่ส่งโดยใช้

ทีซีพี/ไอพีจะถูกส่งไปในรูปของไอพีดาต้าแกรม จำนวนมากกว่าหนึ่งดาต้าแกรมขึ้นไป ส่วนหัวของดาต้า

แกรมจะมีอยู่ที่หลายทาง ซึ่งจะทำให้ข้อมูลส่งผ่านไปในอินเตอร์เน็ต จนถึงปลายทาง ซึ่งคล้ายกับการส่ง

โทรเลข

 

DTD Document Type Definition ข้อกำหนดชนิดของเอกสาร จะะอธิบายโครงสร้างของรหัสพิเศษ ที่

เพิ่มลงในเอกสาร ประเภท SGML ภาษา HTML ที่ใช้กันในเวิล์ดไวด์เว็บก็มี DTD ที่อธิบายรูปแบบของ

ภาษาอยู่

 

Electronic mail (e-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อี-เมล์) การใช้ข่ายงานในการรับและส่งข้อความ

โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองแสตมป์ โดยที่ข้อความนั้นจะถึงผู้รับในทันที ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นระบบที่

บุคคลส่งและรับข้อความระหว่างกัน โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์โมเด็ม และข่ายงานที่เชื่อมโยงถึงกัน 

ข้อมูลที่ส่งจะเป็นได้ทั้งตัวอักษร ภาพถ่าย ภาพกราฟฟิก และเสียง ผู้ส่งสามารถส่งข่าวสารไปยังผู้รับ คน

เดียวหรือหลายคนพร้อมกันได้ โดยข่าวสารที่ส่งนั้น จะถูกเก็บไว้ในตู้ไปรษณีย์ (mail box) ที่กำหนดไว้

สำหรับผู้ใช้ในข่ายงาน ผู้รับสามารถเปิดอ่านข่าวสาร เมื่อใดก็ได้ ตามความสะดวก เมื่ออ่านแล้วสามารถ

พิมพ์ลงกระดาษหรือจะลบทิ้งไปก็ได้ นอกจากการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบข่ายงานธรรมดา

แล้ว  เรายังสามารถส่งทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นระบบของการเชื่อมโยงข่ายงาน คอมพิวเตอร์ที่กว้าง

ขวางทั่วโลก ช่วยให้การส่งและรับข้อความทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นไปได้ ด้วยความสะดวก รวด

เร็วมากยิ่งขึ้น electronic mail นี้ นอกจากจะใช้อย่างย่อว่า "e-mail" แล้ว ยังใช้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า 

"e-pistles"

 

electronic mail address ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ชุดอักขระที่ระบุเฉพาะเจาะจง ถึงตำแหน่งที่อยู่

ของตู้ไปรษณีย์ของบุคคล ในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การใช้ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ในอิน

เทอร์เน็ต จะประกอบด้วยชื่อของบุคคล เช่น tpojanart และตามด้วยสัญลักษณ์ @ และชื่อของเขต เช่น 

tpojanart@netserv.chula.ac.th หมายถึง tpojanart ชื่อของผู้ใช้ (User ID) netserv ชื่อเครื่อง 

(host) ที่เราติดต่อไปซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกับอินเทอร์เน็ต chula.ac.th ชื่อเขตโดยแยก

ย่อยได้ดังนี้ chula จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ac สถาบันการศึกษา th ประเทศไทย

 

FAQ Frequently Asked Queation คำถามที่มีผู้ถามบ่อย เป็นเอกสารที่รวบรวมคำถามที่มีผู้ถามบ่อยใน

เรื่องใด เรื่องหนึ่ง และคำตอบไว้ด้วยกัน เอกสารส่วนใหญ่ที่อยู่ในข่าวยูสเน็ตจะอยู่ในรูป FAQ (และมักจะ

นำลงในกลุ่ม news.answers)

 

Firewall ไฟล์วอลล์ เป็นวิธีการป้องกันโหนดๆ หนึ่ง บนอินเตอร์เน็ต ที่เน้นด้านความปลอดภัยของข้อมูล 

โหนดที่อยู่ภายในไฟล์วอลล์ อาจจะไม่สามารถมองเห็นได้จากเครื่องมือการเข้าใช้ ข้อมูลมาตรฐาน

 

FreeNet เป็นระบบการะดานข่าวประเภทหนึ่ง ที่ให้บริการสังคม โดยมีอยู่เป็นจำนวนมากทั่วโลก เป็นแนว

คิดที่เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเซิร์ฟ ที่เมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ และได้รับการยอมรับ

อย่างกว้างขวาง มีอยู่ทั้งในอินเทอร์เน็ต และในรูปแบบการเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์

 

FTP File Tansfer Protocol เป็นโปโตคอลมาตรฐาน ในการส่งไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยัง

อีกเครื่องหนึ่ง บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพี เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเอฟทีพี ยังเป็นชื่อของคำสั่งที่ผู้ใช้เรียก

เมื่อต้องการส่งไฟล์ บางครั้งคำว่า เอฟทีพีก็ใช้เป็นคำกริยาในความหมายว่า สั่งไฟล์โดยใช้เอฟทีพี เช่น

ในประโยค "ให้เอฟทีพีไฟล์จาก msdos.archive.umich.edu"

 

FQDN Fully Qualified Domain Name ชื่อเต็มของโดเมน เป็นชื่อของโฮสต์ที่เขียนครบทุกส่วน เช่น 

muuwump.cl.msu.edu เป็นชื่อเฉพาะของโฮสต์ใดโฮสต์หนึ่ง และจะไม่ซ้ำกับชื่อโฮสต์ในอินเตอร์เน็ต

 

Full-duplex เป็นชื่อชนิดของช่องทางการสื่อสาร ที่สามารถส่งข้อมูลทั้งไปและกลับได้ในเวลาเดียวกัน

 

File transfer การถ่ายโอนแฟ้ม กระบวนการของการส่งผ่านแฟ้มไปทางโมเด็มหรือทางข่ายงาน แต่ถ้า

เป็นในความหายกว้างๆ แล้วการถ่ายโอนแฟ้มหมายถึง การเคลื่อนย้ายแฟ้ม เช่น การคัดลอกแฟ้มจาก

จานบันทึกแบบแข็งสู่ลงแผ่นบันทึก

 

file transfer protocol (ftp) เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (เอฟทีพี) มาตรฐานในการติดต่อสื่อสารแบบไม่

ประสานจังหวะ (asynchronous communications) ที่รับประกันความปราศจากความผิดพลาด ในการ

ส่งผ่านโปรแกรม และแฟ้มข้อมูลผ่านทางระบบโทรศัพท์ เช่น เอ็กซ์โมเด็ม (XMODEM) , เคอร์มิต 

(Kermit) , และซีโมเด็ม (ZMODEM) เป็นต้น

 

File Transfer Protocol (FTP) เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (เอฟทีพี) มาตรฐานในอินเทอร์เน็ต สำหรับการ

ถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล โดยจะเป็นการบรรจุลง (download) แฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ในอิน

เทอร์เน็ตมาใว้ในคอมพิวเตอร์ของรา หรือจะเป็นการบรรจุขึ้น (upload) แฟ้มข้อมูลของเราส่งไปยังศูนย์

บริการตามกฏเกณฑ์การถ่ายโอนแฟ้มก็ได้เช่นกัน FTP (พิมพ์ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่) จะเป็นชุดกฏเกณฑ์

เฉพาะที่ประกอบด้วย ftp (พิมพ์ด้วยตัวอักษรตัวเล็ก) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสารแบบไม่

ประสานจังหวะ ในการใช้เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้มนี้ เราต้องเริ่มต้นด้วยการเป็นผู้รับริการ หรือเป็นสมาชิก


เอฟทีพี โดยจะมีโปรแกรมใช้งาน ที่ช่วยให้เราสามารถติดต่อกับคอมพิวเติร์เครื่องอื่นในอินเทอร์เน็ต และ

แลกเปลี่ยน หรือถ่ายโอนแฟ้มระหว่างกันได้ ในการเข้าถึงคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นนั้น เราต้องมีชื่อลง

บันทึกเข้า (login name) และรหัสผ่าน หลังจากนั้นเราจะสามารถเข้าถึง ระบบสารบบแฟ้มของ

คอมพิวเตอร์ และสามารถทำการบรรจุลง หรือบรรจุขึ้นแฟ้มต่างๆ ที่ต้องการได้ สิ่งยกเว้นอย่างหนึ่งได้แก่ 

เอฟทีพีที่ไม่ระบุชื่อ (anonymous FTP) ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เป็นสมาชิกของเอฟทีพีสามารถ
 

เข้าถึงแฟ้มที่ เก็บบันทึกได้ แต่ต้องพิมพ์คำว่า "anonymous" แทนชื่อลงบันทึกเข้า และต้องใส่เลขที่อยู่

ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แทนรหัสผ่าน โปรแกรมสำรวจข้อมูลในเวิล์ดเว็บไวด์หลายๆ โปรแกรม

สามารถช่วยให้สมาชิกเอฟทีพี สามารถบรรจุลงแฟ้มจากเอฟทีพีที่ไม่ระบุชื่อได้

 

Frequently Asked Questions (FAQ)คำถามที่ถามบ่อยๆ (เอฟเอคิว) ข้อความที่ติดประกาศโดยอัติโนมัติในกลุ่มอภิปรายในยูสเน็ตในช่วงระยะเวลา ปกติเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ใหม่ๆ คำถามที่ถามบ่อยๆ นี้จะมีรายการคำถามที่มักติดประกาศถามอยู่ในกลุ่มอภิปราย พร้อมด้วยคำตอบที่รวบรวมจากผู้ใช้คนอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ในแต่ละเรื่องที่ช่วยกันตอบมา คำถามที่ถามบ่อยๆ จะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ ประการแรกจะช่วยให้ผู้ใช้เลือกอ่านสิ่งที่เป็นคำถามอยู่ในใจของตนเองโดยไม่ ต้องอายในการที่จะถามคำถามซ้ำกับที่เคยมีผู้ถามไปแล้ว และประการที่สอง คำถามต่างๆ จะมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนอยู่เสมอและจะมีข้อมูลที่ดีที่สุดที่เราอาจจะไม่หา ได้ในที่อื่นๆ เกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการนั้น

gateway เกตเวย์เป็นบริการเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบของโปรโตคอลหนึ่งให้อยู่ในรูปแบบของ อีกโปรโตคอลหนึ่ง เช่นโกเฟอร์เซิร์ฟเวอร์สามารถเป็นเกตเวย์ไปยังฐานข้อมูลเวยส์ หรือเกตเวย์ที่ใช้เปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในรูปอินเตอร์เน็ตอีเมลล์ (โปรโตคอล SMTP) ให้ส่งผ่านในเครือข่าย X.400 (ในระระยะแรกที่อินเตอร์เน็ตยังเป็นอาร์พาเน็ต อยู่คำว่าเกตเวย์ใช้ในความหมายว่าเป็น "เราเตอร์" ซึ่งต่อมาได้เลิกใช้ไป)

GIF (graphic Interface Format) กิฟเป็นรูปแบบของภาพกราฟฟิกของคอมพิวเตอร์เซิร์ฟ โปรแกรมที่สามารถแสดงรูปภาพในรูปแบบกิฟได้มีอยู่ทั่วไปทั้งในรูปของพับบิกโด เมน, แชร์แวร์ และซอฟต์แวร์ที่ขายทั่วไป

GNU เป็นโครงการจัดทำระบบปฏิบัติการที่ทำงานได้เหมือนระบบยูนิกส์ รวมทั้งจัดทำเครื่องมือต่างๆ ที่ทำงานได้เหมือนกับเครื่องมือในระบบยูนิกส์เช่น Gn โกเฟอร์เซิร์ฟเวอร์และโปรแกรมที่ใช้ในการแสดงไฟล์โพสต์สคริปต์ที่มีชื่อว่า "Ghostscript"

Gopher โกเฟอร์เป็นระบบเมนูที่มีหลายลำดับชั้นที่ใช้ในการจัดส่งเอกสารในอินเตอร์ เน็ตออกแบบโดยมหาวิทยาลัยมินิโซต้า โกเฟอร์เป็นระบบที่มีชื่อเสียงในแง่การออกแบบและการบำรุงรักษาที่ไม่ยุ่งยาก โดยมีการทำงานแบบไคลเอ็นต์เซิร์ฟเวอร์ ที่ยอมให้ผู้เข้าใช้ได้ง่ายโดยไม่ต้องมีไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์พิเศษ

Gopherspace โกเฟอร์สเปซจะหมายถึงเอกสารทั้งหมดและโกเฟอร์เซิร์ฟเวอร์ที่เปิดให้ใช้ บริการได้ทั้งหมดในอินเตอร์เน็ต เนื่องจากระบบโกเฟอร์สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ ผู้ใช้จะสามารถข้ามไปใช้ระบบโกเฟอร์อื่นได้จากเมนูหลัก หรือเมนูย่อยของระบบโกเฟอร์ที่กำลังใช้งานอยู่

Gateway เกตเวย์ , ประตูสื่อสาร ช่องทางสำหรับเชื่อมต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อ สื่อสารกันได้ โดยทำให้ผู้ใช้บริการของคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือในข่ายงานหนึ่งสามารถติดต่อ เข้าสู่เครื่องบริการหรือข่ายงานที่ต่างประเภทกันได้ ทั้งนี้โดยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "บริดจ์" (bridges) โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำให้การแปลข้อมูลที่จำเป็นให้ นอกจากในด้านของข่ายงาน เกตเวย์ยังเป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) สองข่ายงานที่มีลักษณะ ไม่เหมือนกันให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ หรือจะเป็นการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่เข้ากับข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) หรือต่อเข้ากับมินิคอมพิวเตอร์หรือต่อเข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่น กัน ทั้งนี้เนื่องจากเกตเวย์มีไมโครโพรเซสเซอร์และหน่วยความจำของตนเอง

(Gopher) โกเฟอร์ ระบบที่ใช้ยูนิกส์เป็นพื้นฐานและมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โกเฟอร์เป็นโปรแกรมที่มีรายการเลือกเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ในการค้นหาแฟ้ม ข้อมูล ความหมาย และทรัพยากรอื่นๆ เกี่ยวกับหัวข้อที่ระบุไว้ในโปรแกรมนี้มีการพัฒนาการในเริ่มแรกที่ ทมหาวิทยาลัยแหงมินนีโซต้า (University of Minnesota) โกเฟอร์จะเป็นสิ่งที่ไม่เหมือนกับกฎเกณฑ์การถ่ายโอนแฟ้ม (FTP) และอาร์คี (Achie) ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้โกเฟอร์ไม่จำเป็นต้องทราบและใช้รายละเอียดของ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่กับอินเทอร์เน็ตสารบบ หรือแฟ้มข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น เราเพียงแต่เลือกอ่านในรายการเลือกและกดแป้น Enter เท่านั้นเมื่อพบสิ่งที่น่าสนใจ ในการใช้นี้เราจะเห็นรายการเลือกต่างๆ พร้อมด้วยสิ่งที่ให้เลือกใช้มากมาย จนกระทั่งเราเลือกสิ่งที่ต้องการและมีข้อมูลแสดงขึ้นมา เราสามารถอ่านข้อมูลหรือเก็บบันทึกข้อมูลนั้นไว้ในจานบันทึกได้

hacker แฮกเกอร์มีความหมายเดิมเป็นโปรแกรมเมอร์ที่หมกมุ่นอยู่กับการปรับปรุง โปรแกรมให้ทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งหมายรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น