วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Hacker และ Cracker กับความรับผิดตามกฎหมายไทย

Hacker และ Cracker กับความรับผิดตามกฎหมายไทย

ความหมายของ Hacker และ Cracker
เนื่องจากยังไม่มีนิยามศัพท์ตามกฎหมาย ที่จะบอกความหมายของคำว่า Hacker
และ Cracker ได้จึงต้องดูจากความหมายโดยทั่วไปที่ใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ ในที่นี้มีความหมายของ Phracker เข้ามาด้วย (เพิ่งเคยได้ยินเหมือนกันครับ คำนี้)

- Hacker is and individual who is a greedly computer-savvy
enthusiast, capable of manipulating a remote computer.
- Phracker , a term given to "Phone Freaks", who have and use the
knowledge to make unauthorized long distance phone calls using a variety of methods such as card, codes , and tones.
- Cracker is a breed of both hacker and phracker , with the skill
to break the access codes to sensitive corporate, and government networks.
( See " Hacker, Phracker,and Cracker" by J.R. Minor : http://www.ols.net/user/iz/mitnk.htm )

จาก นิยามศัพท์ดังกล่าวพอจะให้ความหมายได้ดังนี้
Hacker หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นอย่างมาก จนถึงระดับที่สามารถถอดหรือเจาะรหัสระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่อง คอมพิวเตอร์ของคนอื่นได้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการทดสอบขีดความสามารถของตนเอง หรือทำในหน้าที่การงานของตนเอง เช่น มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเครือ ข่าย หรือองค์กร แล้วทำเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ

Cracker มีความหมายอย่างเดียวกันกับ Hacker แต่ต่างกันตรงที่วัตถุประสงค์ในการกระทำ จุดมุ่งหมายของ Cracker คือ บุกรุกระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นโดยผิดกฎหมายเพื่อทำลายหรือเอาข้อมูลไปใช้ส่วน ตัว แต่โดยทั่วไปแล้วมักเข้าใจกันว่าเป็นพวกเดียวกันนั่นเอง คือมองว่ามีเจตนาไม่ดีทั้งคู่ ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ


กฎหมาย อาญา ที่เกี่ยวข้องได้แก่ "ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานทำให้
เสีย ทรัพย์" การที่ Hacker หรือ Cracker เข้าไปทำอะไรก็แล้วแต่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านหรือกับเวบไซต์ของท่าน ด้วยวิธีข้างต้นหรือวิธีอื่นใด จนทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านหรือเวบไซต์ของท่านไม่สามารถให้บริการ ลูกค้าได้ ทำให้ต้องได้รับความเสียหาย หรือทำให้ข้อมูลขัดข้อง เสียหาย เสื่อมค่าหรือถูกทำลาย จากสภาพที่เป็นอยู่เดิม อันนี้ก็อาจเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ได

กฎหมายแพ่งและพานิชย์ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ "ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์
เรื่อง ละเมิด" (มาตรา 420) นี่เป็นมาตรายอดนิยมเลยทีเดียวเมื่อตอนที่ผมยังเรียนอยู่ ใครที่เรียนกฎหมายแล้วยังท่องมาตรานี้ไม่ได้คงยากที่จะสอบผ่านวิชาละเมิด เพราะมาตรานี้ถือเป็นหัวใจสำคัญ

ถ้าการกระทำของ Hacker หรือ Cracker ถือได้ว่าเป็นการจงใจทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเวบไซต์ของท่านเสียหาย ก็จะได้รับคุ้มครองตามกฎหมายนี้

และโดยมากแล้วการทำผิดกฎหมายอาญาก็ มักจะมีความผิดทางแพ่งฐานละเมิดด้วยเสมอ (แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นทุกกรณี-ผู้เขียน) เช่น ขับรถโดยประมาทชนคนตาย มีความผิดอาญาฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อซึ่งเป็นการละเมิดต่อชีวิตของบุคคลอื่น จึงมีความผิดตามกฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดอีกด้วย ว่ากันคร่าวๆ คงจะพอเข้าใจนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น